ต้องยอมรับว่า ช่วงนี้กระแสการลงทุนหุ้นต่างประเทศกำลังมาแรง เพราะถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการกระจายความเสี่ยงที่จะช่วยเพิ่มโอกาสให้ได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น จากสถานการณ์ที่ตลาดหุ้นบ้านเรามีความผันผวนและสภาวะเศรษฐกิจยังไม่มีเสถียรภาพ ทำให้หลายคนให้ความสนใจหุ้นต่างประเทศไม่น้อย
การลงทุนทั้งในหุ้นต่างประเทศ นักลงทุนมือใหม่อาจจะต้องทำการศึกษาและติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ การเงิน การลงทุน ในแต่ละประเทศอย่างสม่ำเสมอแบบรอบด้าน ก็จะสามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อใช้ในการกระจายความเสี่ยง เพื่อสร้างโอกาสเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนตามความต้องการ
ปัจจุบันนักลงทุนไม่จำเป็นต้องไปเปิดพอร์ตถึงต่างประเทศ ให้ยุ่งยากวุ่นวาย เพราะในประเทศไทยก็สามารถเปิดพอร์ตมีโบรกเปิดพอร์ตลงทุนหุ้นต่างประเทศได้ ซึ่งโบรกเกอร์ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่น่าเชื่อถือต่อการลงทุนของนักลงทุนได้ โดยไม่ต้องกังวลต่อการโดนหลอกลวง แต่จะมีเงื่อนไขค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันออกไป
เปิดพอร์ตผ่านโบรกเกอร์
1.บล. ไทยพาณิชย์
- ฟรีค่าธรรมเนียมโอนเงินออกต่างประเทศ
- ลงทุนในต่างประเทศได้ถึง 24 ประเทศทั่วโลก ซึ่งครอบคลุมหลากหลายภูมิภาค
- ลงทุนในธุรกิจหลากหลายทั้งหุ้น ตราสารหนี้ ETF
- เปิดบัญชี ที่อนุมัติไวภายใน 10 นาที
- ไม่มีขั้นต่ำในการเปิด
- อัตราค่าธรรมเนียซื้อ – ขาย เริ่มต้นที่ 0.20%
- มีบริการบทวิเคราะห์ที่มาจากผู้เชี่ยวชาญของ SCBS
http://www.scbs.com/th/products-services/product-offshore
2.บล. กสิกรไทย
- ค่าธรรมเนียมโอนเงินออกต่างประเทศเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด
- ลงทุนได้มากที่สุดในประเทศไทยถึง 28 ประเทศทั่วโลก
- ซื้อขาย ด้วยบริการ REAL TIME MARKET DATA ที่จะทำให้สามารถซื้อขายได้ด้วยราคาล่าสุด
- บริการซื้อขายได้ตลอด 24 ชั่วโมงผ่านอินเตอร์เน็ต
- ส่งคำสั่งซื้อขายได้ 3 ช่องทาง ผ่านระบบเว็บไซต์ ผ่านระบบ Mobile และผ่านเจ้าหน้าที่แนะนำการลงทุน
- เงินลงทุนขั้นต่ำ 500,000 บาท
- อัตราค่าธรรมเนียซื้อ – ขาย เริ่มต้นที่ 0.20%
https://www.kasikornsecurities.com/ksec/page-content.aspx…
3.บล. เมย์แบงก์กิมเอ็ง
- มีการนำระบบ KE-World มาใช้ ซึ่งช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่นักลงทุน
- ไม่มีขั้นต่ำในการเปิดบัญชี
- ลงทุนได้มากที่สุดในประเทศไทยถึง 26 ประเทศทั่วโลก
- อัตราค่าธรรมเนียมซื้อขาย เริ่มต้นที่ 0.27% ขั้นต่ำ 100 บาท
- ค่าธรรมเนียมโอนเงินไปต่างประเทศ 1,000 บาท ยกเว้น USD, SGD, HKD 500 บาท / โอนเงินกลับประเทศ 1,000 บาท ยกเว้น USD, SGD, HKD 500 บาท
https://www.maybank-ke.co.th/…/produc…/offshore-trading/
4.บล. ทิสโก้
- ลงทุนได้มากที่สุดในประเทศไทยถึง 5 ประเทศทั่วโลก
- อัตราค่าธรรมเนียมซื้อขาย เริ่มต้นที่ 0.5% ขั้นต่ำ 100 USD
- เงินลงทุนขั้นต่ำ 300,000 บาท
- มีเจ้าหน้าที่ที่เชี่ยวชาญด้านการลงทุนในหุ้นต่างประเทศคอยให้คำปรึกษาตลอดเวลา
- ค่าธรรมเนียมโอนเงินตามอัตราที่บริษัทกำหนด
https://www.tiscosec.com/en/globaltrade.html
5.บล. เอเซีย พลัส
- ลงทุนได้ใน 24 ประเทศ และ 27 ตลาดทั่วโลก
- อัตราค่าธรรมเนียมซื้อขายเริ่มต้นที่ 0.45%
- เงินลงทุนขั้นต่ำ ไม่มีขั้นต่ำ
- ค่าธรรมเนียมโอนเงินเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด
- มีบริการอัปเดตข้อมูลแบบ Live สดทุกวันโดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ
- มีบริการโอนเงินสกุลต่างประเทศที่มีอยู่มาลงทุนได้เลย โดยไม่ต้องกังวลอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจลดลง
https://inv4.asiaplus.co.th/asps/global/main
6.บล. ฟิลลิป
- ลงทุนได้ 11 ประเทศ
- อัตราค่าธรรมเนียมซื้อขาย เริ่มต้นที่ 0.25% ขั้นต่ำ 16.16 USD
- เงินลงทุนขั้นต่ำ ครั้งแรกไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท ครั้งต่อไปไม่มีขั้นต่ำ
- ค่าธรรมเนียมโอนเงินไปต่างประเทศ 1,000 บาท / โอนเงินกลับประเทศ 2,000 บาท
- มีอบรมสัมนาบริการ One to One Coaching ที่จะมีผู้เชี่ยวชาญมาคอยให้ความรู้
- ซื้อขายออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านระบบ POEMS2.0
https://bit.ly/2KKtanU
7.บล.ฟินันเซีย ไซรัส
- ลงทุนได้ใน 23 ประเทศ และ 37 ตลาดทุนทั่วโลก
- อัตราค่าธรรมเนียมซื้อขายเริ่มต้นที่ 0.25%
- เงินลงทุนขั้นต่ำตามที่บริษัทกำหนด
- ค่าธรรมเนียมโอนเงินตามที่บริษัทกำหนด
https://www.fnsyrus.com/mc03/services/overseas-investment/Default.aspx
8.บล.โนมูระ พัฒนสิน
- ลงทุนได้ใน 12 ประเทศ
- อัตราค่าธรรมเนียมซื้อขายเริ่มต้นที่ 0.20%
- เงินลงทุนขั้นต่ำ 200,000 บาท
- ค่าธรรมเนียมโอนเงินไปต่างประเทศ 1,500 บาท /โอนเงินกลับประเทศไม่มีค่าธรรมเนียม
- ซื้อขายได้ผ่าน 2 ช่องทาง ผ่านเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการการลงทุนหลักทรัพย์ต่างประเทศ และด้วยตัวเองตลอด 24 ชั่วโมงผ่านแพลตฟอร์ม Nomura iGlobal
https://www.nomuradirect.com/th/product-service/oversea-investment.aspx
9.บล.บัวหลวง
- ลงทุนได้ใน 3 ประเทศ
- ซื้อขายได้ตลอด 24 ชั่วโมงผ่านแพลตฟอร์ม Global Invest
- ส่งคำสั่งผ่านโปรแกรม Streaming โปรแกรมซื้อขายเดียวกับที่ใช้ซื้อขายตลาดหุ้นในประเทศไทย
- อัตราค่าธรรมเนียมซื้อขายเริ่มต้นที่ 0.20% ขั้นต่ำ 20 USD
- เงินลงทุนขั้นต่ำโอนเงินครั้งแรกขั้นต่ำ 500,000 บาท ครั้งต่อไปไม่มีขั้นต่ำ
- ค่าธรรมเนียมโอนเงินไปต่างประเทศ 1,000 บาท / โอนเงินกลับประเทศ 1,000 บาทhttps://knowledge.bualuang.co.th/knowledge-base/openglobalinvesting/
10. บล.เอสบีไอ ไทย ออนไลน์
- ลงทุนได้ใน 1 ประเทศ
- อัตราค่าธรรมเนียมซื้อขายเริ่มต้น 0.10% ขั้นต่ำ 4.99 USD
- เงินลงทุนขั้นต่ำไม่มี
- ค่าธรรมเนียมโอนเงินไปต่างประเทศ 1,000 บาท/ โอนกลับประเทศ 1,500 บาท
- โบรกเดียวในประเทศไทยที่สามารถซื้อเศษหุ้นในตลาดอเมริกาใต้ (New York Stock Exchange, American Stock Exchange, NASDAQ)
ลงทุนหุ้นต่างประเทศผ่านกองทุนรวม
กองทุนรวมต่างประเทศถือเป็นหนึ่งตัวช่วยให้สามารถกระจายเงินลงทุนไปในหุ้นในแต่ละอุตสาหกรรม แต่ละประเทศ หรือแต่ละทวีปได้ รวมถึงช่วยกระจายความเสี่ยงได้ง่ายกว่าการลงทุนในหุ้นต่างประเทศเป็นรายตัว จึงเป็นอีกทางเลือกที่สะดวกกว่ามาก เพราะบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน หรือบลจ. ที่บริหารจะมีบทบาทสำคัญ ช่วยจัดการเรื่องความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและกระบวนการซื้อขายต่าง ๆ โดยมีตัวอย่างกองทุน เช่น
กองทุนรวมหน่วยลงทุน หรือ Feeder Fund ใช้เงินลงทุนน้อย เพราะเป็นการนำเงินจากนักลงทุนหลาย ๆ คน ไปซื้อกองทุนหุ้นหลักในต่างประเทศที่ทาง บลจ. คัดเลือกและเชื่อว่าจะสร้างผลตอบแทนได้ดี เช่น กองทุนตลาดหุ้นอเมริกา กองทุนตลาดหุ้นเวียดนาม จีน ที่ครอบคลุมหุ้น และ ETFs ผลตอบแทนที่ได้จึงขึ้นอยู่กับความสามารถของกองทุนหลัก นอกจากนี้ในบางกองทุนอาจมีการกระจายเงินไปซื้อกองทุนหลักมากกว่าหนึ่งกองก็ได้ เพื่อช่วยกระจายความเสี่ยงสำหรับนักลงทุนมากขึ้น
ขณะที่กองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นต่างประเทศเหมาะกับคนที่ต้องการความเป็นส่วนตัวในการลงทุน แต่ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นสูง (1 ล้านบาทขึ้นไป) และเงินลงทุนขั้นต่ำสูง เพราะนักลงทุนจะสามารถพิจารณาเลือกนโยบายการลงทุนให้ตรงตามความต้องการ ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศด้วยก็ได้ แต่กองทุนนี้จะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมส่วนแบ่งเพิ่มเติมจากผลตอบแทนการลงทุนที่ทำได้ นอกเหนือไปจากค่าธรรมเนียมการจัดการลงทุน
DR อีกทางเลือกของนักลงทุนหุ้นต่างประเทศ
ปัจจุบันตลาดหุ้นไทยมีทางเลือกลงทุนชนิดใหม่ที่ชื่อว่า DR หรือ Depositary Receipt ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อให้นักลงทุนไทยสามารถซื้อขายหุ้นหรือ ETF ในต่างประเทศได้ โดยผ่านการซื้อขาย DR ที่จดทะเบียนซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์ฯ เรียกง่าย ๆ ว่าเป็นการยกหุ้นต่างประเทศมาให้ซื้อขายได้บนตลาดหุ้นไทย ในรูปแบบของการซื้อขายใบรับฝากแทน
นักลงทุนที่ถือครอง DR จึงเปรียบเสมือนกับถือครองหลักทรัพย์ต่างประเทศผ่านใบ DR ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน เนื่องจากซื้อขายด้วยเงินบาท ใช้บัญชีเดียวกันกับการซื้อขายหุ้นไทย เหมือนการซื้อขายหุ้นทั่วไป โดยผลตอบแทนจากการลงทุนเสมือนถือหุ้นหรือหลักทรัพย์ต่างประเทศโดยตรง แบ่งเป็น 2 ส่วน คือกำไรจากส่วนต่างราคา (Capital Gain) ที่นักลงทุนจะได้รับหากขาย DR ได้ในราคาที่สูงกว่าราคาตอนที่ซื้อมา แต่ก็มีโอกาสขาดทุนได้เช่นกันหากราคาลดลงซึ่งก็ถือเป็นความเสี่ยงในการลงทุน
และผู้ถือ DR ยังมีโอกาสได้รับเงินปันผลหรือสิทธิประโยชน์ที่เกิดจากหุ้นแม่ หรือ ETF ที่ต่างประเทศประกาศจ่ายเงินปันผล แต่มีเงื่อนไข คือ เงินปันผลที่จะได้รับถูกหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามที่ระบุไว้ในสัญญารับฝาก (ถ้ามี) นักลงทุนจึงต้องศึกษารายละเอียดเงื่อนไขต่างๆ ให้ชัดเจน
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในหุ้นต่างประเทศ ทำได้ไม่ยากใช้หลักการคล้าย ๆ กับการลงทุนในตลาดหุ้นไทย นักลงทุนต้องศึกษาหาข้อมูลให้รอบด้าน เพราะทุกการลงทุนในหุ้นล้วนแล้วแต่มีความเสี่ยงที่ค่อนข้างสูง
แหล่งข้อมูล
- https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/100-tsi-what-to-know-if-you-want-to-invest-in-foreign-markets
- https://my-best.in.th/50698
- https://salaryinvestor.com/guide/investment-invest-guide/world-wide-stock-investment/
- https://www.setinvestnow.com/th/newdr
- https://www.thairath.co.th/business/investment/stockexchange/2318390
- https://www.efinancethai.com/efinReview/efinReviewMain.aspx?release=y&name=er_202204271708