พระราชาผู้ไม่ย่อท้อ
“Robert The Bruce And The Spider” เป็นหนังสือเก่าแก่ของอังกฤษ ที่เล่านิทานเกี่ยวกับพระราชาผู้โดนเนรเทศและพ่ายแพ้ทุกศึกที่เคยสู้รบมา
กาลครั้งหนึ่งพระราชาผู้นี้กำลังวิ่งหนี แล้วไปซ่อนตัวอยู่ในหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง เมื่อนั้นเขาก็ได้เจอแมงมุมตัวน้อยที่กำลังสร้างใยอยู่ พระราชาผู้นั้นพยายามทำลายใยแมงมุม แต่ไม่ว่าจะกี่ครั้งแมงมุมก็ยังทำใยของมันไปเรื่อย ๆ อย่างไม่ย่อท้อ
พระราชาจึงคิดกับตัวเองว่า
ถ้าข้าทำลายใยนี้อีกครั้ง และเจ้าแมงมุมยังไม่ยอมแพ้ ข้าจะทำตามแมงมุมตัวนี้และกลับไปสู้เหล่าศัตรูอย่างไม่ย่อท้อบ้าง
และนั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้น พระราชาผู้นั้นกลับไปสู้กับเหล่าศัตรู ชนะศึก และสุดท้ายได้บัลลังก์กลับมาครองพร้อมกับประเทศของเขา
หนังสือเล่มนี้จึงเป็นที่มาของชื่อ “Bruce” หรือ Bruce Cheng ผู้ก่อตั้ง Delta Electronics ที่คอยใช้ชื่อนี้เพื่อย้ำให้ตัวเองว่าอย่าย่อท้อต่อสิ่งใดและจงคอยฝ่าฟันอุปสรรคเสมอ
เก็บเกี่ยวประสบการณ์ให้มาก
Bruce Cheng เล่าให้ฟังว่า เขาเกิดในมณฑลฝูเจี้ยนประเทศจีน มีพ่อเป็นักแพทย์แผนจีนและคุณแม่เป็นคุณครู ส่วนคุณปู่ของเขามาจากครอบครัวที่ค่อนข้างมั่งคั่ง เพราะในครอบครัวเป็นนักวิชาการมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง
ในปี 1948 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีสงครามภายในประเทศจีน ทำเขาต้องย้ายถิ่นฐานถึงสองครั้งโดยไม่มีพ่อแม่ ครั้งแรกไปเมืองฝูโจว แต่ด้วยสภาพแวดล้อมตอนนั้นทำให้อยู่อย่างค่อนข้างลำบาก โชคดีว่าลุงของเขาที่เดินทางมาด้วยกันได้งานเป็นครูที่ไถจง ประเทศไต้หวัน ก็เลยตัดสินใจตามไปโดยที่พ่อแม่ยังไม่รู้ เพราะตอนนั้นไม่สามารถที่จะติดต่อได้เลย จนกระทั่งในปี 1984 หรือ 36 ปีต่อมาถึงจะได้เจอพ่อแม่ผู้เป็นที่รักอีกครั้ง
ในระหว่างที่ Bruce อยู่ไต้หวัน สิ่งที่สามารถบอกได้ในคำพูดสั้น ๆ คือ เขาเป็นคนที่ “ตั้งใจเรียนและเรียนเก่งมาก” เพราะสู้ทุกวิถีทางเพื่อที่จะให้ตัวเองเก่งขึ้นเสมอ จนกระทั่งปี 1959 ตอนที่เรียนจบมหาลัย เขาก็รีบหางานให้ตัวเองทำ
โดยงานแรกที่ได้คือทำกับ “Air Asia” ซึ่งเป็นจุดที่เขาได้บ่มเพาะความรู้อย่างมากมายมหาศาลในฐานะนักวิศวกรคนนึง จนกระทั่งตัดสินใจลาออกใน 5 ปีต่อมา พร้อมความรู้ที่ว่าการสร้างโปรดักต์ที่น่าเชื่อถือและมีคุณภาพสูงนั้นสำคัญมาก แล้วได้เรียนรู้ว่า ต้องวางแผนอย่างรอบคอบ และมอบหมายงานให้พนักงานอย่างไรถึงจะมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญที่สุดคือ ต้องฟันฝ่าทุกอุปสรรค์ให้ได้
มีเรื่องเล่าอันนึงที่น่าสนใจมากคือ ตอนที่ได้ก่อตั้ง Delta Electronics สาขาที่ไทย เคยมีการ strike ของพนักงานเกิดขึ้น Bruce เลยให้ผู้จัดการสาวไปถึงต้นตอของการลุกประท้วงครั้งนี้ จนพบว่าผู้จัดการฝ่ายบุคคลเป็นข้าราชการที่ไม่เคยคิดจะฟังความคิดเห็นของพนักงานเลย
เมื่อทางผู้จัดการเข้ามาเคลียร์ปัญหาโดยเริ่มจากให้ผู้จัดการฝ่ายบุคคลออก และเคลียร์กับพนักงานที่เหลือเลยเกิดความเข้าใจที่ดีกันอีกครั้ง
ในจุดนี้ทำให้เห็นว่าถึงแม้ Bruce จะไม่ได้อยู่ที่ไทย แต่เขาก็เป็นคนที่เอาใจใส่พนักงานมาก ๆ
คุณภาพต้องมาก่อน
ในปี 1966 เขาเริ่มต้นงานใหม่กับบริษัทไฮเท็คจากสหรัฐฯที่มาก่อตั้งโรงงานที่ไต้หวัน ชื่อว่า TRW ก่อนจะถูกส่งไปเทรนและเรียนรู้อะไรหลายอย่างที่สหรัฐฯ และกลับมาเพื่อช่วยสาขาที่ไต้หวันก่อตั้งโรงงาน เขาใช้เวลาทำงานกับ TRW อยู่เกือบสิบปี จนกระทั่งเห็นโอกาศทองที่จะจัดตั้งบริษัทของตัวเอง จึงเป็จุดกำเนิดของ Delta Electronics ในปี 1971
Bruce ได้เล่าเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับการทำงานของเขาเพื่อที่จะสร้างให้ Delta Electronics เป็นแบบที่เห็นในทุกวันนี้ คือการตอกย้ำว่าการสร้างของที่มีคุณภาพ จะประสบผลความสำเร็จในระยะยาวเสมอ พร้อมกล่าวว่า
ถ้าไม่มีคุณภาพ สู้ไม่ทำเลยดีกว่า
จนสุดท้ายในปี 1976 ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มติดต่อค้าขายกับต่างประเทศอย่างจริงจัง ทำให้บริษัทเติบโตอย่างรวดเร็วและมีรายได้เกิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเป็นครั้งแรก
หลักดำเนินธุรกิจ 7 ข้อของ Bruce Cheng
สิ่งที่ Bruce สอนย้ำในเชิงการดำเนินธุรกิจคือ ให้พึงรู้เสมอว่าองค์กรหรือบริษัท ประกอบไปด้วย “คน” ถ้าไม่มีคนบริษัทก็จะล่มสลายไปตามธรรมชาติ และถ้าหากพนักงานถูกปฏิบัติแบบไม่ดี ไม่ได้รู้สึกมีความสำเร็จในงานของตัวเอง และไม่ได้รู้สึกมีความภาคภูมิใจในการเติบโตของบริษัท เพราะฉะนั้นถึงแม้จะทำกำไรได้มากแค่ไหน มันก็ไม่มีอะไรน่าภาคภูมิใจเลย โดย Bruce ได้แยกออกมาเป็น 7 ข้อ ดังนี้:
1. ปฏิบัติกับผู้อื่นด้วยความยุติธรรมและมีทัศนคติที่เปิดกว้าง ผู้ที่เป็นหัวหน้าต้องคอยปฎิบัติกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างสมศักดิ์ศรี
2. จงอย่าลืมความสำคัญของการทำงานเป็นทีม เพราะจะไม่มีวันทำงานให้สำเร็จได้หากไม่ได้ความช่วยเหลือจากผู้อื่น
3. ให้ทำทุกอย่างด้วยความจริงใจ ให้เข้าใจความรู้สึกลูกค้าให้มาก ๆ โดยมองจากมุมของเขา
4. ใช้ชีวิตให้เต็มที่และอยู่กับปัจจุบันให้มากเข้าไว้ เพราะในวันที่อำลาโลกนี้ เราไม่สามารถเอาอะไรไปได้เลย
5. จงปรับปรุงตัวเองอยู่เสมอ เพราะเราอยู่ในยุคที่เปลี่ยนแปลงไว
6. หาจุดบาลานซ์ระหว่างคนให้เจอ ระหว่างความเป็น “ตัวของตัวเอง” กับ “ความเป็นองค์กร” บริษัทไม่ควรไปเปลี่ยนคน ๆ หนึ่งเพื่อให้เขาต้องเข้ากับตำแหน่งงานนั้น ๆ ในทางกลับกัน ควรให้ทุกคนใช้ความสร้างสรรค์ตามธรรมชาติและความสามารถอย่างเต็มที่
7. คนทุกคนเป็น “ตัวแทน” ของบริษัท
สุดท้ายนี้ Bruce ได้กล่าวไว้ว่า ตราบใดที่เราไม่หยุดฝัน เข้าใจในหน้าที่การงานของตน คอยช่วยเหลือทำงานเพื่อสังคม และทำด้วยความเพียรพยายามไม่ว่อกแว่ก สังคมโดยรวมจะเป็นที่ที่น่าอยู่มากขึ้น และทุกคนก็จะมีชีวิตที่ดี และในส่วนของผู้ที่สัมภาษณ์ Bruce Cheng แล้วนำมาแปล หรือ Yeu-Wen Chang กล่าวปิดท้ายว่า ในสังคมที่มุ่งหวังผลลัพธ์ที่รวดเร็วและความสนใจแต่ตัวเอง ในทางกลับกัน Bruce แสดงให้เห็นว่าการทำธุรกิจอย่างมั่นคงและปฏิบัติกับคนอื่นด้วยความจริงใจไม่ใช่ความใสซื่อหรือเชย แต่เป็นวิธีทำให้จิตใจผ่อนคลายในขณะที่กำลังทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ นอกจากนั้น ยังทำให้ระหว่างทางมีความสนุกสนานไปในตัวด้วย มีคุณค่าทั้งต่อตัวเองและคนอื่น