“ค่ายสมหวัง สร้างโอกาส” รุ่นที่ 2 โดย “ทิสโก้” เป็นการสานต่อภารกิจแก้โจทย์การขาดทักษะทางการเงินคนไทยในเชิงรุก มุ่งเสริมความรู้และสร้างความเข้าใจด้านการวางแผนการเงินที่สำคัญต่อการปรับใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงาน พร้อมขยายสู่กลุ่มนิสิต – นักศึกษา หวังปลูกฝังวินัยการเงินที่ดีตั้งแต่อายุยังน้อย รวมถึงโอกาสร่วมงานกับ สมหวัง เงินสั่งได้ ประจำสาขาใกล้บ้าน โดยมีผู้สมัครจากทั่วประเทศและผ่านการคัดเลือกเพิ่มขึ้นเท่าตัว
นายศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มทิสโก้ เปิดเผยว่า จากปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนไทยที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องสู่ระดับเกือบ 90% ต่อ GDP ถือเป็นระดับอันตรายที่ส่งผลลบต่อสังคมและระบบเศรษฐกิจการเงินประเทศ ดังนั้น ในฐานะที่ทิสโก้เป็นสถาบันการเงินที่ให้บริการสินเชื่อแก่ลูกค้ารายย่อยทั่วประเทศ จึงตระหนักถึงความรับผิดชอบ และได้นำโจทย์ดังกล่าวมาระดมแนวคิดพัฒนาเป็นโปรแกรมอบรมเชิงปฏิบัติการขึ้น ภายใต้ชื่อ “ค่ายสมหวัง สร้างโอกาส”
กิจกรรมให้ความรู้ทางการเงิน โดยสมหวัง เงินสั่งได้ ผู้ให้บริการสินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ ในกลุ่มธนาคารทิสโก้ โดยในรุ่นแรกประสบความสำเร็จด้วยดีมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมสนใจสมัคร และผ่านการคัดเลือกเป็นพนักงานสูงเกือบ 70% จากปกติอัตราการรับเป็นพนักงานทิสโก้อยู่ในระดับ 1 ต่อ 10
สำหรับ ค่ายสมหวัง สร้างโอกาส รุ่นที่ 2 ยังคงมุ่งมั่นเพิ่มทักษะความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนการเงินที่เหมาะสมกับคนรุ่นใหม่ โดยครอบคลุมเรื่องพื้นฐานที่สำคัญต่อการปรับใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงาน ตลอดจนการเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ครอบครัวและชุมชนในภูมิลำเนา โดยในรอบนี้มีผู้สนใจและผ่านเกณฑ์การคัดเลือกเข้ามาประมาณ 70 คน และในครั้งนี้ ทิสโก้ได้นำโจทย์ที่ท้าทายของคนไทยที่เป็นหนี้ตั้งแต่อายุน้อย เป็นหนี้จำนวนมากและนานขึ้น แม้แต่วัยเกษียณอายุก็ยังมีหนี้สูง รวมถึง สถานการณ์ “เด็กจบใหม่” ที่จะทยอยเข้าสู่ตลาดแรงงานอีกประมาณ 4-5 แสนคน เข้ามาเป็นหนึ่งในโจทย์หลักที่ต้องแก้ไข ดังนั้น จึงขยายกลุ่มการเผยแพร่ความรู้ไปยังนิสิตและนักศึกษา ที่สนใจวางแผนการเงินและกำลังมองหาโอกาสในการทำงานเพิ่มขึ้น โดยปรับหลักสูตรและระยะเวลาให้เหมาะสม
“การขาดทักษะทางการเงินเป็นวาระที่ต้องเร่งแก้ไข แม้ว่าการสร้างความรู้ การปรับทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้คน จะไม่ใช่การแก้ปัญหาที่เห็นผลในทันที แต่ทิสโก้มั่นใจว่า หากรู้จักวางแผนการเงินตั้งแต่อายุยังน้อย สิ่งเหล่านี้จะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีและลดความเสี่ยงทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ ขณะที่บริษัทมีนโยบายเร่งขยายการเติบโตในธุรกิจสมหวัง เงินสั่งได้ ออกไปตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้โอกาสชุมชนทุกพื้นที่เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น โดยการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบลดการพึ่งพาหนี้นอกระบบ และแก้หนี้ภาคครัวเรือนอย่างยั่งยืน จึงมีเป้าหมายในการสรรหาคนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมเป็นกำลังสำคัญอีกจำนวนมาก ค่ายสมหวัง สร้างโอกาส จึงตอบโจทย์ปัญหาสังคมได้อย่างครอบคลุม ทั้งการสร้างนักวางแผนการเงินรุ่นใหม่ เพิ่มการจ้างงาน ผู้ให้บริการสินเชื่อมืออาชีพ และการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของคนในชุมชน ซึ่งจะเป็นรากฐานที่มั่นคงของเศรษฐกิจในระยะยาว” นายศักดิ์ชัยกล่าว
ค่ายสมหวัง สร้างโอกาส รุ่นที่ 2 กิจกรรมให้ความรู้ทางการเงินเชิงปฏิบัติการ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 – 28 เมษายน 2566 โดยหลักสูตรประกอบด้วย
ช่วงที่ 1 การอบรมความรู้ทางการเงิน ระหว่างวันที่ 19 – 22 เมษายน 2566 ณ อาคารทิสโก้ สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ มุ่งเน้นสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการการเงิน อาทิ ความเสี่ยงทางการเงิน ทักษะ แรงจูงใจในการออม การใช้จ่ายอย่างชาญฉลาด ภัยทางการเงิน การเตรียมตัวเข้าสู่โลกการเงิน เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และช่วยในการตัดสินใจในหลากหลายบริบททางการเงินได้อย่างมีประสิทธิผล
ช่วงที่ 2 การฝึกปฏิบัติงานจริงในธุรกิจสินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ ระหว่างวันที่ 24 – 28 เมษายน 2566 ณ สาขาสมหวัง เงินสั่งได้ ที่สาขาใกล้บ้าน เพื่อเรียนรู้วิธีการและลงมือทำงานจริงร่วมกับทีมสาขา
ในช่วงสุดท้ายการนำเสนอผลงาน เพื่อวัดผลการเรียนรู้ ด้วยการนำทักษะความรู้ที่ได้รับมาทำกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) แล้วนำเสนอเป็นผลงานกลุ่ม เพื่อหาแนวทางต่อยอดความรู้สู่คนใกล้ชิดและตอบโจทย์บริการลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น
นายศักดิ์ชัย กล่าวทิ้งท้ายว่า ทิสโก้ตั้งใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาทางการเงินอย่างยั่งยืน โดยตลอดระยะเวลา 10 ปีนับตั้งแต่การริเริ่มโครงการส่งเสริมความรู้ทางการเงินผ่าน “ค่ายการเงินเยาวชนทิสโก้” ก่อนขยาย “หลักสูตรคู่ขนาน” ให้กับครูที่ปรึกษา และต่อยอดสู่ลูกค้าและชุมชนในวงกว้าง ผ่านกิจกรรมฉลาดเก็บฉลาดใช้ รู้ไว้เข้าใจหนี้ ซีรีส์ชุมชนสมหวังหมู่ 8 ชมรมเครือข่ายค่ายการเงินฯ โปรแกรมร่วมกับสมาคมธนาคารไทยในโครงการคนไทยยุคใหม่ใส่ใจเรื่องเงิน และค่ายสมหวัง สร้างโอกาส ซึ่งมีผู้ได้รับประโยชน์จากองค์ความรู้กระจายอยู่ทั่วประเทศจำนวนกว่า 1.1 ล้านคน โดยมุ่งหวังอยากเห็นคนไทยสามารถอยู่ได้อย่างมั่นคงท่ามกลางวิกฤต และสามารถเลี้ยงตัวเองได้ในระยะยาว ซึ่งนั่นย่อมสะท้อนถึงความยั่งยืนของสังคมไทย สำหรับผู้ที่พลาดโอกาสสามารถติดตามความเคลื่