ความร้อนแรงทางเศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่นับวันจะคืบคลานเข้าใจมาทุกที หลังจากที่เงินเฟ้อสหรัฐ เดือนมิถุนายน 2565 ทะลุขึ้นมา 9.1% สูงสุดในรอบ 40 ปี และธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด ปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ซึ่งถือว่ามีผลต่อการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก
ทั้งนี้แม้เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยน่าจะยังไม่จบ เพราะเฟดต้องการปรับขึ้นไปเรื่อย ๆ ไปประจบที่ terminal rate 4.25% ในช่วงปี 2023 แต่ว่า ส่งผลกระทบชัดเจนว่า สหรัฐในช่วงครึ่งปีแรกจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างแน่นอน สาเหตุเกิดจากการที่เฟดมีนโยบายการขึ้นดอกเบี้ยมาตั้งแต่ 0% และปรับขึ้นมายาวมาจนกระทั่งปีนี้คาดว่าสิ้นปีน่าจะจบที่ 3.5% และปีหน้าเพิ่มขึ้นแตะที่ระดับสูงสุดที่ 4.25% ในช่วงครึ่งปีแรก 2023 หลังจากที่เฟด รวมทั้งหมดของการปรับขึ้นดอกเบี้ยทั้งหมดขึ้นมา 425% ถือว่าเป็นการขึ้นดอกเบี้ยที่ค่อนข้างโหดร้าย
แม้ว่าในครึ่งปีแรกของสหรัฐจะต้องประสบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างชัดเจน ครึ่งปีหลังของปี 2023 เฟดคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะปรับลดดอกเบี้ยลงประมาณ 0.75% เช่นกัน เพื่อที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจกลับขึ้นมาใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นวัฎจักรเศรษฐกิจรอบหน้าจะไม่ได้มีในเรื่องของความไม่สมดุลของเศรษฐกิจเหมือนตอนช่วงที่ผ่านมา
และที่มากไปกว่านั้นการคาดการณ์ดอกเบี้ยสิ้นปี 2022 ที่อยู่ในระดับ 3.4% จะถือว่าต่ำเกินไป และอาจจะไปเพิ่มความเสี่ยงที่ตลาดพันธบัตรให้กลับมาเทขายอีกครั้ง ทั้งนี้คาดการณ์ว่า ดอกเบี้ยสิ้นปี 2022 น่าจะอยู่ที่ 3.5% และจะเพิ่มขึ้นแตะที่ระดับสูงสุดที่ 4.25% ในช่วงครึ่งปีแรก 2023 หลังจากที่เฟดปรับลดดอกเบี้ย 0.75% ในครึ่งปีหลัง 2023 เพื่อต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจถดถอย
ขณะที่ในสภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐช่วงนี้เริ่มที่จะเห็นแล้วว่า ประชากรชนชั้นล่างของสหรัฐฯ ที่มีกำลังซื้อน้อยที่สุด เริ่มที่โดนเรื่องของภาวะเศรษฐกิจถดถอยเข้ามากัดกินกำลังซื้อของพวกเขาแล้ว ซึ่งจะเห็นได้ว่า ความมั่งคั่งเริ่มน้อยลง เป็นการส่งสัญญาณที่ไม่ค่อยดีเท่าไรนัก ตัดภาพที่มาที่ฝั่ง Consumer ในสหรัฐฯ เริ่มที่จะอ่อนแอลงเรื่อย ๆ เพราะเริ่มที่จะเห็นหลาย ๆ บริษัทเอกชนออกมาประกาศลดการจ้างงาน จากตัวเลขที่ปรับตัวลดลงจากทางเศรษฐกิจที่เริ่มโดนได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยนี้ด้วย
ในส่วนของตลาดสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปคือ บริษัทเอกชนในสหรัฐฯ มีการปรับประมาณการของ earning ลดลง ถ้าดูในอดีตบริษัทเอกชนโดนปรับ earning ลดลง ก็น่าจะเห็นดาวน์ไซด์ของตลาดหุ้นปรับลงมาใหม่อีกรอบหนึ่งที่ประมาณ 10 – 15% ขณะที่นักวิเคราะห์เริ่มเข้ามาปรับลดประมาณของ earning ลงเช่นกัน ซึ่งจะเห็นความผันผวนของตลาดหุ้นโลกเข้ามาอีกระรอกหนึ่ง
ขณะที่ฟากฝั่งภูมิภาคยุโรป ธนาคารกลาง ECB มีการขยับปรับขึ้นดอกเบี้ยเช่นกัน ถือเป็นการขยับครั้งแรกของ ECB ในวัฎจักรเศรษฐกิจครั้งนี้ ECB จะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% แต่ไม่ใช่ 1 ครั้งของการปรับ เพราะโดยปกติ ยุโรปจะมีการขยับดอกเบี้ยอยู่ที่ 0.1% แต่ที่สำคัญก็คือ เงินเฟ้อของยุโรปค่อนข้างที่จะมีปัญหาหนักหน่วงมากว่าสหรัฐฯ หากเทียบกับที่ก่อนหน้าสหรัฐจะประกาศเงินเฟ้อที่ 9.1% ยุโรปเงินเฟ้อพุ่งทะลุไปก่อนที่ 8.6%
สาเหตุหลักที่ยุโรปกำลังเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อค่อนข้างสูง เพราะมีการทำเอนเนอจีซัพพลายกับรัสเซียค่อนข้างมาก โดยจะเห็นได้จากราคาค่าก๊าซธรรมชาติพุ่งไปค่อนข้างสูง และจากปัญหาดังกล่าวของยุโรปถือว่าหนักหน่วงกว่าสหัรฐ และคาดว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในช่วงครึ่งปีหลัง 2022 นี้ ฉะนั้นน่าจะเป็นอีกหนึ่งในตลาดพัฒนาแล้วที่ควรจะจับตามองนอกจากสหรัฐและยุโรป
ถัดมาในฝั่งของภูมิภาคเอเชีย นับว่าเป็นข่าวดีในมุมของเศรษฐกิจโดยเฉพาะประเทศจีน financial conditions หรือสภาวะการเงินของเศรษฐกิจจีนค่อนข้างที่จะดูดีกว่าสหรัฐและยุโรป เนื่องจากจีนมีมาตรการเคร่งครัดก่อนหน้านี้มาแล้ว และวัฎจักรเศรษฐกิจของประเทศจีนค่อนข้างที่จะแตกต่างจากประเทศอื่น ๆ
ซึ่งจีนในช่วงนี้ถือว่ากำลังอยู่ในช่วงของการกระตุ้นเศรษฐกิจ นโยบายการคลังเพราะทางการจีนจะมีการประกาศในในการใช้งบที่จะนำมาใช้ด้านเศรษฐกิจอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านล้านหยวน ซึ่งถ้าคิดเป็นเศรษฐกิจของจีดีพีจะอยู่ที่ประมาณ 1.5 -1.6% ของจีดีพี น่าจะเป็นปัจจัยบวกของเศรษฐกิจจีนเช่นกัน ขณะที่นโยบายการเงินอาจจะทำได้ไม่มาก เพราะว่าหากทำมากเกินไปในช่วงนี้ก็จะทำให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่าลง ซึ่งจีนก็ไม่ได้อยากให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่ามากเกินไป
ส่งผลให้ตลาดหุ้นจีนกลับมาดูดีอีกครั้ง ทั้งในเชิงของ Fundamental และในฝั่งของในฝั่งของ Technical ตลาดหุ้นจีนน่าจะbottom ไปเรียบร้อยแล้ว ซื่งถือว่าตลาดจีนอยู่ในการปรับตัวช่วงขาขึ้น และราคาค่อนข้างถูก ไม่แพง ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีน
แม้ว่าปีนี้ ความผันผวนชัดเจนขึ้นแต่คำถามก็คือว่า ภายใต้บริบทที่มองเห็นไปข้างหน้าว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยมาอย่างแน่นอน การลงทุนระยะยาวโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับพอร์ตตาม asset allocation ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญในช่วงเศรษฐกิจแบบนี้ ต้องขอขอบคุณประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) พรินซิเพิล จำกัด คุณศุภกร ตุลยธัญ ที่มาให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าวในงานสัมมนาออนไลน์ สินทรัพย์ดิจิทัลกับการลงทุนระยะยาวเพื่อการเกษียณอายุ