ทำความรู้จักกับคริปโตเคอเรนซี่ 7 กลุ่มหลัก ที่นักลงทุนมือใหม่ต้องรู้
สกุลเงินดิจิทัล หรือ Cryptocurrency ถือเป็นอีกหนึ่งการลงทุนรูปแบบใหม่ที่กำลังเป็นกระแสฮิตสำหรับนักลงทุนคนรุ่นใหม่ เพราะเชื่อว่าจะสามารถกลายเป็นเศรษฐีได้เวลาอันรวดเร็ว ทำให้นักลงทุนมือใหม่ หรือวัยรุ่นคริปโตฯ ก้าวกระโดดเข้ามาลงทุนกันเป็นอย่างมาก และมักจะสับสนกับจำนวนสินทรัพย์ที่มีความหลากหลายแตกต่างกันอย่างไร และเพื่อให้นักลงทุนมือใหม่ได้ทำความเข้าใจมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นแนวทางสำหรับเลือกลงทุนได้
คริปโตเคอร์เรนซี่กับ 7 กลุ่มหลัก เพื่อทำความเข้าใจก่อนเข้าไปลงทุน
1.กลุ่มรักษามูลค่า (Store of Value)
- เช่น Bitcoin (BTC), Litecoin (LTC), Bitcoin Cash (BCH)
- เหรียญในกลุ่มนี้คือจำนวนเหรียญที่มีจำกัด
- โดยเฉพาะ Bitcoin ที่มีจำนวนจำกัดเพียง 21 ล้านเหรียญ
- ได้รับการยอมรับว่าเครือข่ายที่น่าเชื่อถือและปลอดภัยที่สุด
- Bitcoin ยังเป็นคริปโทเคอร์เรนซีที่มีมูลค่าตลาดสูงที่สุดในปัจจุบัน
- การเคลื่อนไหวของราคา Bitcoin จึงมักจะส่งผลให้เหรียญอื่น ๆ เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับ Bitcoin
2. กลุ่มสัญญาอัจฉริยะ (Smart contract)
- เช่น Ethereum (ETH), Cardano (ADA), Polkadot (DOT), Kusama (KSM) ฯลฯ
- เป็นสัญญาอัจฉริยะแบบอัตโนมัติที่อยู่บนระบบบล็อกเชน ทำหน้าที่จัดเก็บเงื่อนไขสัญญา
- เป็นเครือข่ายบล็อกเชนที่สามารถใช้ Smart contract ได้
- นักพัฒนาสามารถสร้างแอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์ (Dapp) รวมถึง DeFi
- มูลค่าเหรียญกลุ่มนี้ มาจากความต้องการของตลาดเช่นเดียวกับคริปโตเคอร์เรนซีสกุลอื่น ๆ
3. กลุ่ม DeFi (Decentralized Finance)
- เช่น Uniswap (UNI), Maker (MKR), AAVE
- เป็นระบบการเงินแบบไร้ตัวกลาง ไม่มีธนาคาร
- ถูกสร้างขึ้นบนเครือข่ายบล็อกเชนที่มี Smart contract อย่าง Ethereum
- ถูกจัดเป็นเหรียญโทเคนที่มีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไปตามผู้พัฒนา
- ใช้ได้บนแพลตฟอร์มของตัวเองและแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
- มักจะใช้ได้เฉพาะแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้องเท่านั้น เช่น UNI จะใช้ได้กับ Uniswap หรือ AAVE ที่ใช่ร่วมกับแพลตฟอร์ม AAVE เป็นต้น
- มูลค่าเหรียญ DeFi ก็ผันผวนตามเครือข่ายที่เหรียญนั้นถูกสร้างขึ้น
4.กลุ่มส่งต่อมูลค่า (Value Transfer)
- เช่น Ripple (XRP), Stellar (XLM)
- เป็นเหรียญที่ออกแบบพัฒนาขึ้น เพื่อส่งต่อมูลค่าผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยระบบบล็อกเชน
- ความแตกต่างระหว่าง XRP กับ XLM คือ XRP เป็นเหรียญของเครือข่าย RippleNet ที่สร้างโดยบริษัท Ripple ใช้เพื่อเชื่อมต่อระบบชำระเงินของแต่ละธนาคารเข้าด้วยกันเป็นหลัก
- ค่าธรรมเนียมถูก เช่น หากต้องการย้ายเหรียญที่มีอยู่ไปต่างประเทศ สามารถแปลงเหรียญเป็น Value Transfer ทำให้ค่าธรรมเนียมถูกและรวดเร็ว
5. กลุ่ม Oracle
- เช่น Chainlink (LINK) , Band Protocol (BAND)
- เป็นโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างข้อมูลภายนอกบล็อกเชน (Off-chain) กับข้อมูลภายในบล็อกเชน (On-chain) เพื่อให้สามารถนำข้อมูลต่างๆ ไปใช้ประโยชน์ต่อได้
- ข้อมูลที่ Oracle คอยป้อนให้บล็อกเชน มีตั้งแต่ ราคาเหรียญ ราคาสินทรัพย์ ไปจนถึงข้อมูลทั่วไปอย่าง สภาพอากาศ หรือผลการแข่งขัน
6. กลุ่ม Stablecoin
- เช่น USDT, USDC, DAI
- เป็นเหรียญที่ผูกมูลค่าเข้ากับสกุลเงินหลักของโลก (ดอลลาร์ ยูโร) หรือสินค้าโภคภัณฑ์หนุนหลัง (ทองคำ น้ำมัน ที่ดิน) ในอัตรา 1:1
- นิยมนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระเงินแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ เช่น หากอยากจะเข้ามาเทรด ก็จะต้องใช้เงินจริงซื้อคริปโตฯ ประเภท Stablecoin ในอัตรา 1:1 แล้วจึงนำไปซื้อคริปโตเคอร์เรนซี่อื่นต่อไปได้
7. กลุ่มมีม (Meme)
- เช่น Dogecoin (DOGE)
- เหรียญกลุ่ม ส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นเพื่อความสนุกสนาน
- ไม่ได้มีแพลนหรือโปรเจกต์รองรับ
- ใช้แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการจากร้านค้าที่รองรับบนโซเชียล
- นิยมในระยะเวลาสั้นๆ
- มีความผันผวนสูง
อย่างไรก็ตาม หากนักลงทุนมือใหม่ที่คิดจะเข้ามาลงทุนเหรียญกลุ่มนี้ อาจจะต้องประสบกับสภาวะความผันผวนของราคาค่อนข้างสูงเนื่องจากมีความเสี่ยงค่อนข้างมาก เพราะนักลงทุนมักจะเข้ามาเล่นเพื่อเก็งกำไรช่วงสั้น ๆ หากนักลงทุนมือใหม่ที่ต้องการเข้าไปเทรดควรศึกษาอย่างรอบด้าน
แหล่งข้อมูลที่มา
https://www.finnomena.com/bitkub/7-maincat-crypto/
https://www.krungsricard.com/th/content/cryptocurrency.html
https://www.fwd.co.th/th/fwdmax/wealth/crypto-taxes-tips/
https://zipmex.com/th/learn/what-is-cryptocurrency/https://thematter.co/futureverse/futureword-cryptocurrency/160562